บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge
^_^ นำเสนอคำคมเกี่ยวการเป็นผู้บริหาร
เลขที่ 2 น.ส.ประภัสสร คำบอนพิทักษ์
จากคำคม.....คนเราจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีความมานะบากบั่น ไม่ใช่รอโชคช่วย
เช่นเดียวกับ ผู้บริหาร ถ้าเราเป็นผู้บริหาร งานจะสำเร็จก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของเราไม่ใช่รอคนอื่นมาช่วยไม่ใช่รอโชครอวาสนา
เลขที่ 3 น.ส.ชนาภา คะปัญญา เลขที่ 14 น.ส.สุทธิกานต์ กางพาพันธ์
^_^ การบริหาร ( Administration ) หมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
การศึกษา ( Education ) หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
สรุปได้ว่า การบริหารการศึกษา ( Education Administration ) หมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
^_^ การบริหารสถานศึกษา
^_^ หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารสถานศึกษา
^_^ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานศึกษา
1. ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)
1. การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
2. การจัดการเชิงบริหาร
3. การบริหารแบบราชการ
ตัวอย่าง
การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
Frederick. W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
2. มีการวางแผนการทำงาน
3. คัดเลือกคนทำงาน
4. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ
2. ทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)
1. ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก
2. การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น
3. ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์
4. หลักพฤติกรรมศาสตร์
ตัวอย่าง
ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์
ทฤษฏี X เขาเห็นว่า องค์การแบบเดิม (รวมศูนย์ สื่อสารบนลงล่าง) ไม่ช่วยให้เกิดผลผลิต แต่สะท้อนธรรมชาติของมนุษย์
และทฤษฏี Y มองว่า คนจะให้ความร่วมมือถ้าพอใจในสภาวะการทำงาน
3. ทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
1. การบริหารศาสตร์
2. การบริหารปฏิบัติการ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
สารสนเทศบริหารศาสตร์ MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs)
4. ทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
1. ทฤษฏีเชิงระบบ
2. ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์
3. ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่
ตัวอย่าง
ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่
คือ ทฤษฏี Z ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchi มีการรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว
การนำไปใช้ : Adoption
^_^ นำความรู้เรื่องแนวคิด หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการเป็นผู้บริหารในอนาคตได้
การประเมิน : Evaluation
ตัวเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
เพื่อน
เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
อาจารย์ผู้สอน
เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่าย ในบางเรื่องที่ยากก็มีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น
ห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น