วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

Daily Wednesday March 8 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge
^_^นำเสนอคำคม

เลขที่ 11 น.ส.ปัณฑิตา  คล้ายสิงค์                                    เลขที่ 12 น.ส. ชนากานต์  แสนสุข

                                         


เลขที่ 15 น.ส. ศุทธินี  โนนริบูรณ์                          เลขที่ 16 น.ส. ภัทรวรรณ  หนูแก้ว

                                                    



เลขที่ 24 น.ส. สุจิตรา  มาวงษ์


^_^นำเสนองานวิจัย

กลุ่มที่ 1 งานวิจัยเรื่อง : ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา การศึกษาระดับปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    บทนำ : ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1    ผลจากการวิจัยทำให้ทราบความคิดเห็นของมหาบัณฑิต และผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปีการศึกษา 2549 – 2551 ที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
        ประเด็นที่ 2   เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมถึงพัฒนานิสิตต่อไปในอนาคต ทั้ง 9 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน  ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
        ประเด็นที่ 3  มหาบัณทิตให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็ง และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
1. เพื่อศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 9 ด้าน
        2.  เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก้าวทันมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง
        3.  มีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารการศึกษาให้บรรลุผล และมีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้า สามารถนําเอาทฤษฎีหรือผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารการศึกษา
       4.  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทํางาน
       5.  มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปีการศึกษา 2549 – 2551 ที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ
1. สถานภาพ ได้แก่ มหาบัณฑิต ผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิต
2. หน่วยงานที่สังกัด ได้แก่ สถานศึกษาในหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานศึกษาของเอกชน 
3. ปีที่สำเร็จการศึกษา ได้แก่ ปีการศึกษา 2549  ปีการศึกษา 2550 ปีการศึกษา 2551
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต ตามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยศึกษาทั้ง 9 ด้าน 

สมมุติฐานการวิจัย
1.  มหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของใน 9 ด้าน ไม่แตกต่างกัน
        2.  มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา  ที่สังกัดหน่วยงาน ที่แตกต่างกัน มีความเป็นผู้บริหารมืออาชีพใน 9 ด้าน ไม่แตกต่างกัน
        3. มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาที่สำเร็จ ในปีการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีความเป็นผู้บริหารมืออาชีพใน 9 ด้าน ไม่แตกต่างกัน

งานวิจัยนี้นำแนวคิดทฤษฏีทางการบริหารใดมาใช้
        ทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB
กูลิค และ เออร์วิกค์ ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ เอาไว้ในหนังสือชืื่อ “Paper on the Science of Administration ) โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อว่า “POSDCoRB” ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ คือ
1.  Planning  การวางแผน
2.  Organizing  การจัดองค์การ
3.  Staffing   การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน
4.  Directing   การอำนวยการ
5.  Coordinating  การประสานงาน
6.  Reporting  การรายงาน
7.  Budgeting  การงบประมาณ

วิธีดำเนินการวิจัย
        ประชากร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2549-2551 ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐจำนวน 30 คน และเอกชนจำนวน 25 คน 
ผู้ร่วมงานมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐจำนวน 56 คน และเอกชนจำนวน 48 คน 
        กลุ่มตัวอย่าง
มหาบัณฑิตที่สำเร็จตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขา การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐจำนวน 28 คน และเอกชนจำนวน 24 คน  
ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
       เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน 
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับมหาบัณฑิต
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานมหาบัณฑิตเกี่ยวกับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพใน 9 ด้าน

การดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต 
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
ในปีการศึกษา 2549 - 2551
เพื่อศึกษาความคิดเห็นของมหาบัณฑิต และผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิต ในเรื่องความเป็นผู้บริหาร
มืออาชีพใน 9 ด้าน ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. การกําหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง          4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย                                5. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ

การวิเคราะห์ข้อมูล
       การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูล ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
       ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ สถานภาพ หน่วยงานที่สังกัด ปีที่สำเร็จการศึกษา โดยวิเคราะห์หาค่าความถี่และร้อยละ
       ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ใน 9 ด้าน 
       ตอนที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตเกี่ยวกับความเป็นผู้บริหาร มืออาชีพ ใน 9 ด้าน จำแนกตามสถานภาพ หน่วยงานที่สังกัด และปีที่สำเร็จการศึกษาเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
    1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าร้อยละ           1.2 ค่าเฉลี่ย            1.3 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
   2. สถิติเพื่อใช้หาคุณภาพของเครื่องมือ
2.1 หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ด้วยการหาดัชนีความ สอดคล้อง 
2.2 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 
       ตามวิธีของครอนบาค 
    3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน 
3.1 สมมติฐานข้อ 1 มหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิต มีความคิดเห็น เกี่ยวกับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของ ใน 9 ด้าน ไม่แตกต่างกัน โดยใช้การทดสอบแบบ t - test
3.2 สมมติฐานข้อ 2 มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ที่สังกัดหน่วยงานที่ แตกต่างกัน มีความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ใน 9 ด้าน ไม่แตกต่างกัน โดยใช้การทดสอบแบบ t - test 
3.3 สมมติฐานข้อ 3 มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาใน ปีการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ใน 9 ด้าน ไม่แตกต่างกัน โดยใช้สถิติ One - Way ANOVA

สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาวิจัยความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ 
1.  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นมหาบัณฑิตที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐ และสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2550   
2.  ผลการศึกษาความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและเพื่อนร่วมงานในความเป็นผู้บริหารมือ อาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้ง 9 ด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคุณธรรม จริยธรรมมีความเป็น ผู้บริหารมืออาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด


กลุ่มที่ 2 งานวิจัยเรื่อง : การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยการศึกษาระดับ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปกร

บทนำ : ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย

        ประเด็นที่ 1 ในปัจจุบันผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรของตนได้มากพอ จึงก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน โรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยหรือโรงเรียนอนุบาลจึงจำเป็นกับสังคมปัจจุบัน และจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
ประเด็นที่ 2 ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการที่จะบริหารจัดการให้มีคุณภาพ

ประเด็นที่ 3 นโยบายการศึกษาของรัฐที่ไม่ชัดเจนแน่นอนและบทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งควบคุมมากกว่าส่งเสริม กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ
         ประเด็นที่ 4 ในการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนมีปัญหาด้านรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่เกิดขึ้นการวางแผนพัฒนาและการเกิดผลสัมฤทธิ์ผลของเด็กสูงกว่าความเป็นจริงการได้รับ การช่วยจากรัฐบาลไม่ทั่วถึง ไม่เท่าเทียมกัน การมีมีส่วนร่วม การบริหารการศึกษา
ประเด็นที่ 5 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกลไกลสำคัญสำคัญในการสร้างเครือข่ายสร้างทีมงานขับเคลื่อนสถานศึกษาให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ผู้บริหารมีหน้าที่ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในสถานศึกษาสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วม(Participative Management)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
2. เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารศาสตร์ศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
3. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
2. เพื่อให้บุคลากรรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในหน้าที่ของตน และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ
3. เกิดการยอมรับ และสร้างความมั่นใจในคุณค่าของการทำงานเป็นทีม และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ และแสดงความสามารถมากขึ้น
4. ส่งผลให้องค์การมีโอกาสก้าวหน้าในงาน เกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ จะช่วยจูงใจให้เกิดการเสียสละ อุทิศตนในงาน
5. โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยสามารถนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปพัฒนาโรงเรียนของตนเองได้

ขอบเขตการศึกษางานวิจัย

ประชากร ได้แก่ โรงเรียนเอกชนสายสามัญ สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยจำนวน 321 โรง 
กลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 175 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารโรงเรียน แห่งละ 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 298 คน 

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ตัวแปรตาม
ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

สมมติฐานการวิจัย
1.การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยอยู่ในระดับปานกลาง
2.ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยอยู่ในระดับปานกลาง
3.การบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา เอกชนระดับปฐมวัย

งานวิจัยนี้นำแนวคิดทฤษฏีทางการบริหารใดมาใช้
      รุสโซ ทฤษฎีการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย 
ประการที่ 1 การมีส่วนร่วมต้องตั้งอยู่บนฐานของเสรีภาพ
ประการที่ 2 กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นจะต้องตั้งอยู่บนฐานของความเสมอภาค
ติน ปรัชญพฤทธิ์ แบ่งทฤษฎีการมีส่วนร่วมออกเป็น 2 กลุ่ม
1) ทฤษฎีความเป็นผู้แทน เน้นความเป็นผู้แทนของผู้นำ และถือว่าการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งและ/หรือถอดถอนผู้นำเป็นหลักประกันกับการบริหารที่ดี
2) การมีส่วนร่วมเป็นการให้การศึกษาและพัฒนาการกระทำทางการเมืองและสังคมที่มีความรับผิดชอบ ไม่ยอมให้มีส่วนร่วมนับว่าเป็นการคุกคามต่อเสรีภาพของผู้ตาม

วิธีการดำเนินการวิจัย
     ประชากร
โรงเรียนเอกชนสายสามัญ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2557  จำนวน 321 โรงเรียน
     กลุ่มตัวอย่าง

โรงเรียนเอกชนสายสามัญ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย จำนวน 175 โรงเรียน การสุ่มตัวอย่างจะทำการศึกษาโรงเรียนเอกชนที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานครทุกเขตทั้ง 50 เขต

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
2. แบบสอบถามความคิดเห็น
3. แบบตรวจสอบรายการ

การดำเนินการวิจัย 

ขั้นตอนที่1 การเตรียมโครงร่างวิจัย
ศึกษาวิเคราะห์หลักแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ
ขั้นตอนที่2 ดำเนินการวิจัย
2.1  ศึกษา,วิเคราะห์เนื้อหา และกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
2.2 ร่างแบบสอบถามองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

2.3 สร้างแบบสอบถามเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์แบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
        2.4 รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง แบบสุ่มตัวอย่าง
2.5 ตรวจสอบความสอดคล้องของการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
ขั้นตอนที่3 การรายงานผลการวิจัย
  เป็นขั้นตอนการจัดทำร่างรายงานผลการวิจัย เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมตรวจสอบความถูกต้อง  ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง ตามที่คณะกรรมการควบคุมเสนอแนะ เพื่อพิจารณาอนุมัติ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

สรุปผลการวิจัย
       จากการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยมีจำนวน 9 องค์ประกอบ คือ
องค์ประกอบที่ 1 ความผูกพันต่อองค์การ
องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาทีมงาน
องค์ประกอบที่ 3 การกระจายอำนาจ
องค์ประกอบที่ 4 ความไว้วางใจกัน

องค์ประกอบที่ 5 การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์

2. องค์ประกอบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ คือ
1) ความชัดเจนของวัตถุประสงค์                        7) การสื่อสารที่เปิดเผย
2) บรรยากาศการทำงานที่ปราศจากพิธีรีตอง     8) บทบาทและการมอบหมายงานที่ชัดเจน
 3) การมีส่วนร่วม                                            9) ภาวะผู้นำร่วม
4) การรับฟังซึ่งกันและกัน                                 10) ความสัมพันธ์กับภายนอก
5) ความไม่เห็นด้วยในทางบวก                         11) รูปแบบการทำงานที่หลากหลาย

6) ความเห็นพร้อมกัน                                        12) การประเมินผลงานของตนเอง

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยโดยรวมมีจำนวน 3 องค์ประกอบคือ
- การบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านความเป็นอิสระในการบริหารองค์การ
- ความผูกพันต่อองค์การ

- ด้านการร่วมกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย


กลุ่มที่ 3 งานวิจัยเรื่อง : การศึกษาสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ การศึกษาระดับ:ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม) การบริหารการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร

บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
      ประเด็นที่ 1 การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคน ทั้งนี้เพราะความสามารถและศักยภาพของคนจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญ
      ประเด็นที่ 2 เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดของการพัฒนา ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและบุคลิกภาพ เป็นวัยที่เรียกว่าช่วงแห่งการเจริญเติบโตงอกงามสำหรับชีวิต และยังเป็นช่วงวัยที่

เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุดในชีวิต
      ประเด็นที่ 3การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กสามารถช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต
     ประเด็นที่ 4 เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว เด็กทุกคนมีความสามารถด้านการเรียนรู้และด้านสมอง เท่าเทียมกัน องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็ก
     ประเด็นที่ 5 การจัดการศึกษาปฐมวัยจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ในทำนองเดียวกันต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นบุคลากรหลักและเป็นผู้นำในการบริหาร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

      1. เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัย
     2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัยจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์สอนและขนาดของโรงเรียน
     3. เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ขอบเขตของเนื้อหา
การศึกษาในครั้งนี้ กำหนดขอบเขตของเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ใน 4 ด้าน คือ
1. การจัดการการเรียนรู้
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การนิเทศ
4. การส่งเสริมการวิจัย

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ ไดแก่
1.2 ประสบการณสอน
1.3 ขนาดของโรงเรียน
ตัวแปรตาม  ไดแก สมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ใน 4 ด้าน คือ
2.1 การจัดการการเรียนรู
2.2 การพัฒนาหลักสูตร
2.3 การนิเทศ
2.4 การส่งเสริมการ

สมมติฐานการวิจัย
     1. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่มีประสบการณ์สอนต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการ บริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนา หลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัย แตกต่างกัน 
    2. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะ การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนา หลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัย แตกต่างกัน

การดำเนินการวิจัย

           ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 
          ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหาร และครูที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ปีการศึกษา 2549  13 โรงเรียน เป็นผู้บริหาร 13 คน เป็นครู 456 คน รวมทั้งสิ้น 469 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่ ปฏิบัติการสอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สํานักงานเขตภาษีเจริญ ปีการศึกษา 2549 โดยผู้วิจัยเจาะจงกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร จำนวน 13 คน และครูผู้สอนระดับ ปฐมวัย จำนวน 80 คน

         เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 
        ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบ ตรวจสอบรายการ (Checklist) โดยสอบถามเกี่ยวกับระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการ บริหารและขนาดของโรงเรียน ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของ ผู้บริหารสถานศึกษา ในด้านการจัดการการเรียนรู้ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการนิเทศ และ ด้านการสงเสริมการวิจัย

            ใชในการวิเคราะห์ ขอมูลสถิติที่ใช้ ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ
1. ตรวจสอบความเทยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)โดยการหาคา IOC 
2. หาคาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธแอลฟา (α- Coefficient) ของครอนบัค  สถิติที่ใช้ ในการ วิเคราะหขอมูล 
2.1 ถิติพื้นฐาน ไดแก คารอยละ คาเฉลี่ย ( X ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 
2.2 สถิติที่ใชในการจําแนกเกณฑในการกําหนดระดับความสามารถใชการทดสอบที (t–test) แบบกลุมตัวอยาง กลุมเดียว (One sample t-test) 86 
2.3 สถิติที่ใชในการทดสอบสมมติฐานในการเปรียบเทียบความแตกตางระหวาง กลุมตัวอยาง 2 กลุม
จําแนกตามประสบการณสอน โดยใชการทดสอบที (t–test) แบบกลุ่มตัวอยาง เปนอิสระตอกัน (Independent sample) 2.4 สถิติที่ใชในการทดสอบสมมติฐานในการเปรียบเทียบความแตกตางระหวาง กลุมตัวอยาง 3 กลุม จําแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยใชการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเมื่อพบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติทดสอบความ แตกตางเปนรายคูโดยวิธีLSD (Fisher’s Least Significant Difference)

สรุปผลการวิจัย
      1. สมรรถนะการบริหารดานวิชาการระดับปฐมวัยของผูบริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของครูปฐมวัยโดยรวมและรายดานทั้ง 4 ไดแก การจัดการเรียนรู การพัฒนาหลักสูตร การ นิเทศ และการสงเสริมการวิจัย อยูในระดับมาก 
     2. ครูปฐมวัยที่มีประสบการณสอนตางกันมีความคิดเห็นตอสมรรถนะการบริหารดาน วิชาการระดับปฐมวัยของผูบริหารสถานศึกษา ดานการจัดการเรียนรู และดานการพัฒนาหลักสูตร แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สําหรับดานการนิเทศ ดานการสงเสริมการวิจัย และโดยรวม แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยครูที่มีประสบการณสอน 5 ป ขึ้นไปมีสมรรถนะการบริหารงานวิชาการมากกวาครูที่มีประสบการณสอนต่ำกวา 5 ป ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดตางกันมีความคิดเห็นตอสมรรถนะการ บริหารดานวิชาการระดับปฐมวัยของผูบริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายดานทั้ง 4 ดานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยครูปฐมวัยในโรงเรียนขนาดใหญมีความคิดเห็นตอสมรรถนะการบริหาร ดานวิชาการระดับปฐมวัยของผูบริหารสถานศึกษา ในระดับสูงกว่าครูปฐมวัย ในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง


ภาพกิจกรรม











การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้จากงานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหาร หรือ การเป็นผู้บริหารมืออาชีพไปปรับใช้ในการบริหารองค์กรของตนเองในอนาคตให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

 
การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง

          เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

เพื่อน

         เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน นำเสนองานวิจัยได้ดีทุกกลุ่ม

อาจารย์ผู้สอน

          เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่ายมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น มีการอธิบายเพิ่มเติมจากงานวิจัย
ห้องเรียน


             ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น