วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

Daily Wednesday January 25 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตุ้กตาดุ้กดิ้ก
ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^ นำเสนอคำคมเกี่ยวการเป็นผู้บริหาร

    เลขที่ 1 น.ส.จงรักษ์  หลาวเหล็ก                              เลขที่ 4 น.ส.วันเพ็ญ  ใหม่สุด



เลขที่ 6 น.ส.รัชดา  เทพเรียน



^_^ บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร




         






          นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้นำยังคงเป็นความคาดหวังสูงสุดในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะในโลกของธุรกิจ หากผู้นำคนใดยังผูกขาดการตัดสินใจ ไม่ยอมสร้างการมีส่วนร่วมก็ยากที่จะนำพาองค์กรหรือประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผู้นำยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่เสมอ 

^_^ ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ 


          ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย







^_^ ภาวะผู้นำ 


          คือ  กระบวนการหรือพฤติกรรมการใช้อิทธิพลเพื่อควบคุม สั่งการ เกลี้ยกล่อม จูงใจ ให้ผู้ตามหรือกลุ่ม ปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือความเป็นผู้นำนั้นเอง คุณสมบัติของผู้นำมีหลายอย่าง หลายด้าน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องและได้ผลดี โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 
                1. ตัวผู้นำ 2. ผู้ตาม 
                3. จุดหมาย 4. หลักการและวิธีการ 
                5. สิ่งที่จะทำ 6. สถานการณ์ 


           ผู้นำจะนำไปในทิศทางที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ก็อาจจะไม่ใช่ผู้จัดการ หรือบริหารที่ดีได้ หรือผู้บริหาร-ผู้จัดการที่ดี ก็อาจไม่ใช่ผู้นำที่ดีก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ องค์การหนึ่งองค์การใดที่ต้องการประสบความสำเร็จ ก็ย่อมต้องการผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่มีลักษณะเป็นผู้นำดังนี้
1. ต้องมีความฉลาด (Intelligence) 
2. ต้องมีวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social Maturity & Achievement Drive) 
3. ต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner Motivation) 
4. ต้องมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Attitudes) 

^_^ ความรู้เกี่ยวกับผู้บริหาร 

            ผู้บริหาร หรือ ผู้จัดการ  เป็นสมาชิกในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ทำงานในองค์กรจะเป็นผู้บริหารทุกคน  สมาชิกในองค์กรขนาดใหญ่แบ่งเป็น 2 ประเภท   คือ ผู้ปฏิบัติงาน กับ ผู้บริหาร 



 ผู้บริหารที่ดีควรที่จะมีคุณสมบัติของผู้นำควบคู่ไปด้วย ดังนี้
1.  มีภาวะผู้นำ   มีศิลปะในการครองใจคน 
2.  มีเมตตาธรรม   ไม่มีอคติ  หรือ ฉันทคติ 
3.  ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุลและความถูกต้อง 
4.  เป็นนักคิด  นักวิเคราะห์ 
5.  มีการสร้างวิสัยทัศน์ 
6.  มีทักษะหลายด้าน • ทักษะในการตัดสินใจ • ทักษะในการวางแผน • ทักษะในการจัดองค์กร • ทักษะในการแก้ไขปัญหา•ทักษะในการสร้างทีมงาน 

^_^ ระบบการบริหาร  (Management System)


^_^ ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร



^_^ ทักษะของผู้บริหาร 

Robert L. Katz   ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1)  ทักษะด้านเทคนิค   (Technical Skills)
2)  ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์  (Human Skills) 
3)  ทักษะด้านการประสมแนวความคิด  (Conceptual Skill) 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตุ้กตาดุ้กดิ้ก

ภาพกิจกรรม







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตุ้กตาดุ้กดิ้ก
การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้เรื่องผู้นำ ผู้บริหาร คุณสมบัติต่างๆของการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี ไปใช้ในการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารในอนาคตและในการใช้ชีวิตประจำวันได้



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตุ้กตาดุ้กดิ้ก

การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น

ห้องเรียน

             ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน






วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

Daily Wednesday January 18 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 




ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^ นำเสนอคำคมเกี่ยวการเป็นผู้บริหาร


เลขที่ 2 น.ส.ประภัสสร คำบอนพิทักษ์




 
  จากคำคม.....คนเราจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีความมานะบากบั่น ไม่ใช่รอโชคช่วย
เช่นเดียวกับ  ผู้บริหาร ถ้าเราเป็นผู้บริหาร งานจะสำเร็จก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของเราไม่ใช่รอคนอื่นมาช่วยไม่ใช่รอโชครอวาสนา








   เลขที่ 3 น.ส.ชนาภา  คะปัญญา                                      เลขที่ 14 น.ส.สุทธิกานต์  กางพาพันธ์





^_^  การบริหาร ( Administration ) หมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
         การศึกษา ( Education ) หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
        สรุปได้ว่า การบริหารการศึกษา ( Education Administration )  หมายถึง การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี


^_^  การบริหารสถานศึกษา 


       
^_^ ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา


  
^_^ หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารสถานศึกษา 



^_^ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานศึกษา

1. ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)

 1. การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ 
 2. การจัดการเชิงบริหาร
 3. การบริหารแบบราชการ

ตัวอย่าง 

การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

Frederick. W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
2. มีการวางแผนการทำงาน
3. คัดเลือกคนทำงาน
4. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ


2. ทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)

 1. ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก
 2. การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น
 3. ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์
 4. หลักพฤติกรรมศาสตร์

ตัวอย่าง

ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์

ทฤษฏี X เขาเห็นว่า องค์การแบบเดิม (รวมศูนย์ สื่อสารบนลงล่าง) ไม่ช่วยให้เกิดผลผลิต แต่สะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ 

และทฤษฏี Y มองว่า คนจะให้ความร่วมมือถ้าพอใจในสภาวะการทำงาน


3. ทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)

 1. การบริหารศาสตร์
 2. การบริหารปฏิบัติการ
 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ตัวอย่าง

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

       สารสนเทศบริหารศาสตร์ MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs) 

4. ทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)

1. ทฤษฏีเชิงระบบ      
2. ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์           
3. ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่

ตัวอย่าง

ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่

คือ ทฤษฏี Z  ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchi  มีการรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว


^_^ ภาพกิจกรรมภายในห้องเรียน



      นำเสนอคำคม



นำเสนอทฤษฎี





การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้เรื่องแนวคิด หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการเป็นผู้บริหารในอนาคตได้ 





การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่าย ในบางเรื่องที่ยากก็มีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น

ห้องเรียน

             ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน





วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

Daily Wednesday January 11 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1



ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^  - ปฐมนิเทศ แนะนำรายวิชา การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย


         - ทำแบบทดสอบก่อนเรียน




                                                 





















การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการปฐมนิเทศก่อนเรียน อธิบายเนื้อหารายวิชาที่จะเรียนกับนักศึกษาได้ละเอียดและเข้าใจ

ห้องเรียน

             ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน